แฟนๆ anngle คงจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเหรียญญี่ปุ่นที่อยู่ในบทความที่เราเคยนำมาลงในครั้งก่อนไปแล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องเจาะลึกของเหรียญญี่ปุ่นแต่ละชนิดอีกหลายๆเรื่องที่แม้แต่ชาวญี่ปุ่นก็ยังไม่รู้…
ครั้งนี้เราจึงพาแฟนๆไปค้นหาเรื่องจริงเกี่ยวกับเหรียญญี่ปุ่นต่อในภาคที่สองว่าจะมีเรื่องลึกลับน่ารู้อะไรซ่อนอยู่อีก ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มจากเหรียญราคาน้อยสุดก่อนเลย!!!
…เหรียญ 1 เยน…
ผลิตเหรียญ 1 เยน แต่เสียมากกว่า 1 เยน
เหรียญ 1 เยน เป็นเหรียญขนาดเล็กที่สุดและมีความสำคัญที่สุดที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน แต่รู้หรือไม่? ว่าต้นทุนในการทำแต่ละเหรียญนั้นมูลค่าเกือบ 2 เยนเลยทีเดียว โดยมูลค่าของอลูมิเนียมที่ใช้ต่อเหรียญ คือ 0.7 เยน ว่ากันว่าเหรียญ 1 เยนนั้นยิ่งผลิตก็ยิ่งขาดทุน แต่ก็ยังเป็นเหรียญที่ผลิตเป็นจำนวนมากที่สุด
ปีโชวะ 43 ไม่มีเหรียญ 1 เยน
ในช่วงตั้งแต่ปีโชวะ 35 เป็นต้นมา เหรียญ 1 เยนก็ค่อยๆมีทีท่าว่าจะไม่พอ จึงเกิดการผลิตแต่เหรียญ 1 เยนขึ้นจำนวนมาก แต่ว่าผลิตมากจนเกินไปจึงทำให้การผลิตเหรียญในครั้งต่อมาในปีโชวะ 43 นั้น ไม่มีเหรียญ 1 เยนเลย
ในบรรดาเหรียญทั่วโลกนั้น มีเพียงเหรียญ 1 เยนเท่านั้นที่ลอยน้ำ
วัตถุดิบในการผลิตเหรียญ 1 เยนนั้นคืออลูมิเนียมซึ่งมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำถึง 2.6 เท่า และเมื่อนำไปเข้าทฤษฎีเรื่องแรงตึงผิวของน้ำแล้ว เหรียญ 1 เยนก็มีโอกาสที่จะลอยน้ำได้
การนำเหรียญ 1 เยนเข้าไปหลอมในไมโครเวฟ ถือว่าเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมความเสียหายทางการเงิน
ข้อ 1 ห้ามนำเหรียญไปหลอมละลายหรือทำความเสียหายใดๆ
ข้อ 2 ห้ามสะสมเหรียญ เพื่อจุดประสงค์ในการนำไปหลอมละลายหรือทำความเสียหาย
ข้อ 3 บุคคลใดที่กระทำการในข้างต้น จะถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 เยน
…เหรียญ 5 เยน…
สาเหตุหลักในการเจาะรูคือ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง
ตั้งแต่สมัยปีไทโชที่ 5 นั้นญี่ปุ่นมีการใช้เหรียญ 5 เซน (100 เซ็น = 1 เยน) ซึ่งจะใช้การเจาะรูตรงกลางเพื่อให้ต่างจากเหรียญอื่นและแยกง่าย นอกจากนี้การเจาะรูยังเป็นการประหยัดวัตถุดิบและสามารถป้องกันการทำเงินปลอมได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นการยิงนกนัดเดียวได้นกสองตัวเลย
เรื่องราวที่เป็นแรงจูงใจในเหรียญ 5 เยน
ภาพในเหรียญ 5 เยนนั้นเป็นรูปรวงข้าวที่งอกขึ้นมาจากน้ำเปรียบเสมือนความเจริญงอกงาม และเฟือง (รูตรงกลาง) เปรียบได้กับ เกษตรกรรม การประมง และอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ ส่วนใบไม้คู่ที่อยู่ด้านหลังนั้นก็เปรียบกับประเทศญี่ปุ่นที่ก้าวไปสู่สังคมแบบประชาธิปไตย
สีเหลืองๆของเหรียญ 5 เยนที่เห็นนั้นคือ สังกะสี
ไม่ได้มีเพียงแต่ 5 เยนเท่านั้น แต่เหรียญ 500 เยนก็ผสมสังกะสีลงไปด้วย
…เหรียญ 10 เยน…
หลังจากปีโชวะ 34 เหรียญ 10 เยนก็ไม่มีรอยขรุขระตรงขอบ
แต่เดิมนั้นขอบของเหรียญ 10 เยนจะถูกผลิตให้เป็นลายขรุขระ แต่หลังจากปีโชวะที่ 34 ก็ได้เปลี่ยนการผลิตให้เป็นแบบไม่มีลายขรุขระ เพราะกลัวว่าจะไปปนกับเหรียญที่มีค่าสูงกว่าอย่างเหรียญ 50 เยนที่ผลิตออกมาในปีโชวะ 30 และเหรียญ 100 เยนที่ผลิตออกมาในปี 32 ที่ตรงขอบเหรียญนั้นมีลายขรุขระเหมือนกัน
มีเหรียญ 10 เยนที่มีค่าถึง 50 เยน
เหรียญ 10 เยนที่ผลิตออกมาในปีโชวะที่ 33 นั้น ถูกเรียกว่าเหรียญ 10 เยนขอบขรุขระ (เป็นเหรียญที่ผลิตตั้งแต่ปีโชวะที่ 26 ถึงโชวะที่ 33) และผลิตออกมาเป็นจำนวนน้อยมาก จึงมีราคาตลาดในการรับซื้อแพงผิดปกติ คือ 50 เยนต่อ 1 เหรียญ
ถ้านำเงิน 1 ล้านเยนไปแลกเหรียญ 10 เยนแล้ว อาจจะต้องเพิ่มค่าเงินไปอีก 5399 เยน
เพราว่าราคาตลาดในการรับซื้อเหรียญ 10 เยนของแต่ละปีนั้นไม่เท่ากัน ดังนี้ ปีโชวะ 27 / 28 / 29 จะมีมูลค่า 11 เยน ปีโชวะ 30 / 61 / 64 มีมูลค่า 15 เยน ปีโชวะที่ 26 / 32 / 34 มีมูลค่า 20 เยน และปีโชวะ 33 มีมูลค่า 50 เยน
เอาเหรียญ 10 เยนไปแช่ซอส จะทำให้ดูเงาขึ้นมาก
ใช้ซอสที่มีส่วนผสมของกรด (เช่น กรดซิตริก) เนื่องจากทองแดงจะทำปฏิกิริยาเกิดการละลายเพียงเล็กน้อยเมื่อเจอกรด เพราะฉะนั้นกรดจึงทำให้เหรียญ 10 เยน ดูสะอาดและเงางามขึ้น
…เหรียญ 50 เยน…
สาเหตุในการเจาะรูคือ เพื่อให้แตกต่างจากเหรียญอื่น
เหรียญ 50 เยนนั้นผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1957 เป็นแบบไม่มีรู ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขึ้นเพราะว่าสีและขนาดดันไปคล้ายกับเหรียญ 100 เยน ทำให้แยกความแตกต่างได้ยาก หลังจากนั้น 2 ปี จึงมีการผลิตเหรียญ 50 เยนแบบมีรูขึ้น
…เหรียญ 100 เยน…
ทั้งน้ำหนักและขนาดนั้นไม่เคยเปลี่ยนเลย
แต่เดิมนั้นเหรียญ 100 เยนเคยเป็นเหรียญที่มีมูลค่ามากที่สุด จนมาถึงปีโชวะที่ 57 ได้มีการผลิตเหรียญ 500 เยนขึ้นเป็นครั้งแรก และหลังจากการผลิตเหรียญ 500 เยนแบบใหม่ในปีเฮเซที่ 12 แล้วนั้น จำนวนการผลิตใช้ของเหรียญ 100 เยนก็ค่อยลดลง
…เหรียญ 500 เยน…
มีอักษรคำว่า “N I P P O N” ขนาด 0.2 mm ซ่อนอยู่ในเหรียญ 500 เยน
จะจริงหรือไม่?? ใครที่มีเหรียญ 500 เยนลองไปหากันดูได้เลย